ข้อมูล เทศบาล
ประวัติความเป็นมาเทศบาลตำบลท่ายาง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลท่ายาง ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้น ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสุขาภิบาลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และได้ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 71 เล่ม 73 ตอนที่ 45 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2499 ต่อมาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 โดยประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 ในปัจจุบันเทศบาลตำบลท่ายาง จัดเป็นเทศบาลสามัญ และมีฐานะเป็นนิติบุคคล
อาคารสำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง
|
1. ชื่อที่อยู่ในบริเวณวงกลมด้านนอก ดวงตรากำหนดเป็นรูปวงกลม มีรัศมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร เดิมตำบลท่ายางและตำบลท่าคอย มีฐานะเป็นสุขาภิบาล ตั้งอยู่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ในการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลยังคงใช้ตราประทับเดิมที่สุขาภิบาลท่ายางใช้อยู่เพียงแค่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชื่อจากสุขาภิบาล มาเป็นเทศบาลเท่านั้น เนื่องจากความหมายเดิม ถูกต้องและสมบูรณ์แล้ว
2. บริเวณภายในวงกลม ตอนกลางดวงตรามีรูปเครื่องหมายเป็น “ต้นยางขึ้นอยู่ริมแม่น้ำ" การกำหนดเครื่องหมายดังกล่าวนี้ เป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่เขตอำเภอท่ายาง แต่เดิมอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นยางและมีแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดไหลผ่านอำเภอท่ายาง ซึ่งเป็นที่มาของชื่ออำเภอ ต่อมาทางราชการได้มีการอนุรักษ์ต้นยาง สุขาภิบาลท่ายาง จึงใช้ต้นยางเป็นสัญลักษณ์ประจำสุขาภิบาล เมื่อเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาล จึงยังคงใช้ตราสัญลักษณ์เดิมที่สุขาภิบาลใช้อยู่
วิสัยทัศน์และพันธกิจวิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาล " เทศบาลตำบลท่ายางเมืองเกษตรพอเพียง เน้นพัฒนาการศึกษา คู่สังคมปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม "
พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น
เป้าประสงค์
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
|
|
สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลท่ายาง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ายางและตำบลท่าคอย มีพื้นที่ 79 ตารางกิโลเมตร หรือ 49,375 ไร่ ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 141 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 18 กิโลเมตร สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบัน พื้นที่เขตเทศบาลตำบลท่ายางมีลักษณะชุมชนหลัก คือ ชุมชนท่ายาง และท่าคอย อยู่บริเวณตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3175 บริเวณจุดเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) และมีชุมชนย่อยเล็กๆ กระจายตัวอยู่ในโดยรอบพื้น ได้แก่ บ้านท่ากระเทียม ชุมชนหนองแฟบ บ้านเขากระจิว บ้านหนองแขม บ้านท่าขาม ชุมชนเขื่อนเพชรและบ้านหนองบ้วย จากลักษณะทางกายภาพของพื้นที่เขตเทศบาล และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ที่เชื่อต่อกับพื้นที่เมืองเพชรบุรี กับเมืองชะอำและหัวหิน ซึ่งต้องรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเทศบาลเอง ทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ กระจายอยู่ทั่วไปในเขตเทศบาล ตามแนวริมฝั่งถนนสายหลัก ถนนสายรอง และริมคลองชลประทานสายต่าง ๆ
|
การเมืองการปกครอง
เทศบาลตำบลท่ายาง มีการปกครอง 2 ตำบล คือ ตำบลท่ายาง และตำบลท่าคอย มีหมู่บ้าน
นอกจากนี้ เทศบาลตำบลท่ายาง ยังได้จัดตั้งชุมชนย่อยขึ้น โดยปัจจุบันมีชุมชน ทั้งสิ้น 37 ชุมชน ได้แก่
|
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมลักษณะเศรษฐกิจโดยทั่วไป ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มะนาว กล้วย พืชผักต่างๆ โดยมีตลาดกลางทางการเกษตร 1 แห่ง คือ ตลาดกลางการเกษตรท่ายาง นอกจากรายได้จากภาคเกษตรกรรมแล้ว ประชาชนยังประกอบธุรกิจการค้า รับจ้าง มีธนาคาร 13 แห่ง ปั๊มน้ำมัน 9 แห่ง ศูนย์การค้า 1 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 1 แห่ง ประกอบการด้านการผลิตอาหารสัตว์ ส่วนด้านการท่องเที่ยว ในพื้นที่เทศบาลตำบลท่ายางนั้นไม่มีสถานที่ท่องเที่ยว แต่เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าผลิตผลทางการเกษตร ขนมพื้นเมือง สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญต่าง ๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน หาดปึกเตียน หาดชะอำ เป็นต้น ตลอดจนเป็นทางผ่านของนักท่องเที่ยวสู่ภาคใต้ด้วย สภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง สำหรับสภาพสังคม ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม เช่นเดียวกับประชาชนในภาคกลางทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ประเพณีสงกรานต์ บวชนาค เข้าพรรษา ลอยกระทง เป็นต้น นอกจากนี้ ชุมชนบ้านเขากระจิว หมู่ที่ 6 ต.ท่ายาง ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทยทรงดำ ซึ่งมีประเพณีวัฒนธรรมและการแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ได้แก่ ประเพณีไทยทรงดำเป็นประเพณีการทำบุญ ในงานจะมีการจัดการละเล่น และการทำอาหารแบบดั้งเดิมของชาวไทยทรงดำ มีการแต่งกายด้วยชุดตามประเพณีที่หาดูได้ยาก จัดในช่วง เดือนเมษายนของทุกปี |
สภาพทางการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม1. สถานศึกษาภาครัฐ 12 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา 1 แห่ง คือ
**ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2563 จาก สพป.เขต 2 เพชรบุรี
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท่ายาง มี 7 แห่ง คือ ** ข้อมูลจากกองการศึกษา เทศบาลตำบลท่ายาง 3.ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่ายาง จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลท่ายาง 4.ห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลท่ายาง ศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่ภายในเขตเทศบาลตำบลท่ายางนับถือศาสนาพุทธ รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ ตามลำดับ
|
การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติการไฟฟ้า
ปัจจุบันการดำเนินการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลท่ายางอยู่ในความรับผิดชอบของการ ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอท่ายาง โดยประชาชนมีไฟฟ้าใช เกือบทุกหลังคาเรือน สำหรับไฟฟ้าสาธารณะตามริมถนนต่าง ๆ และที่สาธารณะอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของเทศบาล ตำบลท่ายาง ที่จะดำเนินการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะออก ไปตามความจำเป็น อีกทั้งการบำรุงรักษาโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์ เมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย |
ข้อมูลหน่วยงานและอำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่เทศบาล
อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13)
พ.ศ. 2552 และพระราชบัญญัติกําหนดและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
1. อํานาจหน้าที่ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 ได้กําหนดอํานาจหน้าที่ที่เทศบาลตําบลต้องทํา ได้แก่
(1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(2) ให้มีและบํารุงทางบกและทาง
(3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการ กําจัดมูลฝอยและ
สิ่งปฏิกูล
(4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(6) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
(7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(8) บํารุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของทั้งถิ่น
(9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
2. อํานาจหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไข เพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 ได้กําหนดอํานาจหน้าที่ที่เทศบาลตําบลอาจจัดกิจกรรมใดๆ ในเขต
เทศบาล ได้แก่
(1) ให้มีน้ําสะอาดหรือการประปา
(2) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(3) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(4) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(5) บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร
(6) ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
(7) ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(8) ให้มีและบํารุงทางระบายน้ํา
(9) เทศพาณิชย์
3. และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจ และหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
(1) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
(2) การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ําและทางระบายน้ํา
(3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
(4) การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ
(5) การสาธารณูปการ (6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
(7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
(8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(9) การจัดการศึกษา
(10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส
(11) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันของท้องถิ่น
(12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(13) การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(14) การส่งเสริมกีฬา
(15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(18) การกําจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย
(19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(22) การจัดให้มีและควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ
และสาธารณอื่น ๆ
(24) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
(25) การผังเมือง
(26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
(27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(28) การควบคุมอาคาร
(29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สิน
(31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
|
สำนักปลัดเทศบาลตั้งอยู่ชั้นที่ 1 สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1.ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
2.ฝ่ายปกครอง
เบอร์โทรศัพท์ 0-3246-3000-2 ต่อ 127,121
|
กองคลังตั้งอยู่ชั้น 1 สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1.ฝ่ายบริหารงานคลัง
2. ฝ่ายพัฒนารายได้
เบอร์โทรศัพท์ 0-3246-3000-2 ต่อ 102,108
|
กองช่างตั้งอยู่ชั้น 2 สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1.ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง
2.ฝ่ายการโยธา
3.ฝ่ายช่างสุขาภิบาล ได้แก่ งานควบคุมและตรวจสอบบำบัดน้ำเสีย งานซ่อมแซมและบำรุงรักษาท่อระบายน้ำ งานกำจัดขยะเกี่ยวกับการฝังกลบขยะมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ เบอร์โทรศัพท์ 0-3246-3000-2 ต่อ 201,206
|
กองการศึกษาตั้งอยู่ชั้น 3 สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ดังนี้
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลท่ายาง ได้แก่ 1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่ายาง 2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขากระจิว 3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย 4.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าคอย 5.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเกษมสุทธาราม 6.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเขื่อนเพชร 7.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่ากระเทียม เบอร์โทรศัพท์ 0-3246-3000-2 ต่อ 305
|
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตั้งอยู่ชั้น 1 สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1.งานสุขาภิบาลอนามัยและสิ่งแวดล้อม
2. งานส่งเสริมสุขภาพ ทั้งในด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการให้ความรู้แก่ประชาชน อาทิ การเยี่ยมมารดาหลังคลอด ตลอดจนการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยทำงานร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน (อสม.) 3.งานป้องกันและควบคุมโรค อาทิ งานฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค การขอรับทรายอะเบท 4.งานสัตวแพทย์ บริการฉีดยาป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและยาคุมกำเนิดสำหรับสุนัขและแมว งานทำหมันสุนัขและแมว เบอร์โทรศัพท์ 0-3246-3000-2 ต่อ 141
|
กองสวัสดิการและสังคมตั้งอยู่ชั้น 2 สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1.ฝ่ายพัฒนาชุมชน
เบอร์โทรศัพท์ 0-3246-3000-2 ต่อ 215
|
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ ตั้งอยู่ชั้น 2 สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1.ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ
2. งานนิติการ ดูแลงานตรวจสอบนิติกรรมสัญญาต่างๆ ของเทศบาล
เบอร์โทรศัพท์ 0-3246-3000-2 ต่อ 218
|
กองการประปาตั้งอยู่ชั้น 1 สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ดังนี้
เบอร์โทรศัพท์ 0-3246-3000-2 ต่อ 135
|
สถานธนานุบาลตั้งอยู่ ซอยเทศบาล 7 หมู่ที่ 1 ต.ท่ายาง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ดังนี้
เบอร์โทรศัพท์ 0-3243-7918
|
• แผนการตรวจสอบภายใน
• รายงานการตรวจสอบภายใน
• งานควบคุมภายใน
• การบริหารความเสี่ยง
• วัฒนธรรมองค์กร
• มาตรฐานการให้บริการ
• มาตรฐานการปฏิบัติงาน
• การให้บริการ
• คู่มือปฏิบัติงาน
• มาตรฐานการให้บริการ
• สถิติการให้บริการ
• ผลสำรวจความพึงพอใจในการให้บริการ