แสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ต้มยำกุ้งและเคบายา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญา

2 มกราคม 2568
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง

"ต้มยำกุ้ง"  และ  "เคบายา"   ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้  สร้างความภูมิใจในมรดกภูมิปัญญาของไทย

1.ต้มยำกุ้ง หรือ Tomyum  Kung

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนการรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The 19th Session of the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” เป็นรายการตัวแทน มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (The Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในการประชุมฯ ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก

ต้มยำกุ้ง นับเป็นมรดกอย่างที่ 4 ของประเทศไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนจากที่ก่อนหน้านี้มีมาแล้ว 3 อย่าง ได้แก่ 


ปี 2561 ‘โขน’  เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงที่แตกต่างจากประเทศอื่นในรายละเอียดของการแสดง โดยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ใช้แสดงในงานมหรสพหลวงและพิธีต่าง ๆ สำหรับสร้างความบันเทิง และเป็นสื่อเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่สอดแทรกคติธรรมต่าง ๆ สู่ผู้ชมผ่านตัวละครที่เป็นสัญลักษณ์ของความดี ความชั่ว ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ ปี 2562 ‘นวดไทย’  ถือเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยที่มีการสืบสานมาแต่โบราณกาล มีบันทึกจารึกกล่าวถึงตั้งแต่ยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) และในเชิงโครงสร้างก็มีการจัดตั้งกรมหมอนวด จวบจนสมัยปัจจุบันได้มีการแตกหน่อต่อยอดองค์ความรู้แห่งศาสตร์แขนงนี้อย่างหลากหลาย พัฒนาเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย

ปี 2564 ‘โนรา’  เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ ที่มีแบบแผนในการร่ายรำและขับร้องเป็นเอกลักษณ์ฉพาะถิ่น โดยมีเครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี และผู้รำโนรา มีความสามารถในศาสตร์และศิลป์แห่งโนรา

ปี 2566 ‘ประเพณีสงกรานต์’ เป็นขนบธรรมเนียมอันสวยงามของไทย แสดงออกถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาคและในประเทศไทย รวมทั้งจะช่วยส่งเสริมบทบาทอันแข็งขันของชุมชนที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมการเรียนรู้ เข้าถึง พัฒนา และสงวนรักษาประเพณีและศิลปะ

 

2. เคบายา  เครื่องแต่งกายอันสง่างามของทางใต้ ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมร่วม  5  ประเทศ

ยูเนสโก มีมติรับรองให้ เคบายา : ความรู้ ทักษะ ประเพณี และปฏิบัติ ซึ่งเป็นการเสนอร่วม 5 ประเทศ คือ บูรไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย

เคบายา เป็นเสื้อผ่าหน้า มีลักษณะเด่น ประดับด้วยงานปักและลูกไม้ที่ประณีต สวมด้วยตัวยึด สามารถสวมใส่คู่กับโสร่งหรือผ้าท่อนล่างที่เข้าชุดกัน เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวัน ในโอกาสทั่วไป โอกาสที่เป็นทางการและงานเทศกาลต่าง ๆ

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!