สิทธิการรับเบี้ยผู้สูงอายุ ประจำปี 2562

4 มกราคม 2562
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

สิทธิและสวัสดิการเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

- สัญชาติไทย 

- อายุ 59 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยการลงทะเบียนช่วงต้นปี 2562 ต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2503 (ผู้สูงอายุที่ทะเบียนราษฎรระบุเฉพาะปีเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคมของปีนั้นๆ)

- ต้องไม่เคยได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ รวมถึงเงินอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือรค่าตอบแทนรายได้ประจำ หรือผล ประโยชน์ตอนแทนอย่างอื่นที่รัฐจัดให้เป็นประจำ 

สามารถลงทะเบียนได้ 2 ช่วงเวลาดังนี้

- ช่วงเดือน มกราคม ถึง กันยายน 2562 (สำหรับผู้เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2503) จะเริ่มได้รับเงินผู้สูงอายุงวดแรกในเดือนถัดไป จากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ เช่น เกิดเดือนสิงหาคม 2503 ก็จะเริ่มได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเดือนกันยายน 2563 

- สำหรับผู้ที่เกิดวันที่ 2 กันยายน 2503 - 1 ตุลาคม 2503 ให้ลงทะเบียนช่วงเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน 2562 

หลักฐานในการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 

- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงหรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานรัฐที่มีรูปถ่าย 

- ทะเบียนบ้านตัวจริง 

- สมุดบัญชีฝากเงินธนาคารตัวจริง เฉพาะ ธนาคารออมสิน หรือ กรุงไทย เท่านั้น 

แต่หากผู้สูงอายุไม่สามารถมาลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นมายื่นคำขอรับเงินแทนได้ โดยต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้ 

- หนังสือมอบอำนาจ (แบบฟอร์มมอบอำนาจขึ้นอยู่กับการดำเนินการของแต่ละพื้นที่ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)

- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

- ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ 

อัตราการรับเบี้ยผู้สูงอายุ 

อายุ 60 - 69 ปี ได้รับเงิน 600 บาท

อายุ 70 - 79 ได้รับเงิน 700 บาท

อายุ 80 - 89 ได้รับเงิน 800 บาท

อายุ 90 ขึ้นไป ได้รับเงิน 1,000 บาท

 

 ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

              1.  ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

              2.  ด้านการศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสาร

              3.  ด้านการประกอบอาชีพ ฝึกอาชีพที่เหมาะสม

              4.  ด้านการพัฒนาตนเอง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่าย/ชุมชน

              5.  ด้านการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการสาธารณะอื่น

              6.  ด้านการลดหย่อนค่าโดยสาร และการอำนวยความสะดวกในการเดินทางการรถไฟแห่งประเทศไทย

              7.  ด้านการยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ

              8.  ด้านการช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรม หรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย                       หรือถูกทอดทิ้ง

              9.  การให้คำแนะนำ ปรึกษา ดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดี และในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว

              10.  ด้านการช่วยเหลือด้านที่พักอาศัย อาหารและเครื่องนุ่งห่มให้ตามความจำเป็นอย่างทั่วถึง

              11.  ด้านการช่วยเหลือเงินเบี้ยยังชีพ

              12.  การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี

              13.  การจัดบริการสถานที่ท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติประกาศ                             กำหนด

              14 การจัดบริการเพื่ออำนวยความสะดวกด้านพิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน หอจดหมายเหตุแห่งชาติ และการจัดกิจกรรมด้าน                         ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติประกาศกำหนด

              15.  ด้านการลดหย่อนภาษีเงินได้ และการลดหย่อนภาษีให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์สิน เงินให้แก่กองทุนผู้สูงอายุ

              16.  ด้านกองทุนผู้สูงอายุ

 

 

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!