ข้อมูล เทศบาล

ประวัติความเป็นมา

        เทศบาลตำบลท่ายาง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลท่ายาง ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้น ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสุขาภิบาลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และได้ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 71 เล่ม 73 ตอนที่ 45 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2499 ต่อมาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 โดยประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 ในปัจจุบันเทศบาลตำบลท่ายาง จัดเป็นเทศบาลสามัญ และมีฐานะเป็นนิติบุคคล

อาคารสำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง
 

 

 

 























     1. ชื่อที่อยู่ในบริเวณวงกลมด้านนอก ดวงตรากำหนดเป็นรูปวงกลม มีรัศมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร เดิมตำบลท่ายางและตำบลท่าคอย มีฐานะเป็นสุขาภิบาล ตั้งอยู่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ในการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลยังคงใช้ตราประทับเดิมที่สุขาภิบาลท่ายางใช้อยู่เพียงแค่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชื่อจากสุขาภิบาล มาเป็นเทศบาลเท่านั้น เนื่องจากความหมายเดิม ถูกต้องและสมบูรณ์แล้ว

     2. บริเวณภายในวงกลม ตอนกลางดวงตรามีรูปเครื่องหมายเป็น “ต้นยางขึ้นอยู่ริมแม่น้ำ" การกำหนดเครื่องหมายดังกล่าวนี้ เป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่เขตอำเภอท่ายาง แต่เดิมอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นยางและมีแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดไหลผ่านอำเภอท่ายาง ซึ่งเป็นที่มาของชื่ออำเภอ ต่อมาทางราชการได้มีการอนุรักษ์ต้นยาง สุขาภิบาลท่ายาง จึงใช้ต้นยางเป็นสัญลักษณ์ประจำสุขาภิบาล เมื่อเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาล จึงยังคงใช้ตราสัญลักษณ์เดิมที่สุขาภิบาลใช้อยู่














































วิสัยทัศน์และพันธกิจ

        วิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาล  " เทศบาลตำบลท่ายางเมืองเกษตรพอเพียง  เน้นพัฒนาการศึกษา   คู่สังคมปลอดภัย  ใส่ใจสิ่งแวดล้อม "

    พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น
        ๑. ทำให้ท่ายางน่าอยู่
        ๒. จัดให้มีและบำรุงรักษาทั้งทางบกและทางน้ำ
        ๓. การพัฒนาศักยภาพของคนและชุมชนให้เข้มแข็ง
        ๔. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกด้าน
        ๕. บริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
        ๖. ส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดี

    เป้าประสงค์
        ๑. เพื่อจัดบริการโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน
        ๒. เพื่อพัฒนาคนและสังคมในการยกระดับคุณภาพชีวิต
        ๓. เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน
        ๔. เพื่ออนุรักษ์  ฟื้นฟู  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        ๕ .เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการที่ดีขององค์กร

    ยุทธศาสตร์การพัฒนา        
        ๑.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
        ๒.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
        ๓.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการเกษตรกรรม
        ๔.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        ๕.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการที่ดี

 

    จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
        ๑. จัดบริการโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานและทั่วถึง
        ๒. ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง  สามารถพึ่งพาตนเองได้
        ๓. ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาของประชาชน
        ๔. ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีถ้วนหน้า
   
    ๕. ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีการนันทนาการอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ
 
      ๖. ส่งเสริมให้ประชาชนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีให้คงอยู่สืบไป
 
      ๗. ดำเนินการให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
 
      ๘. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานองค์กรให้สะดวก  รวดเร็ว  ทั่วถึงและเป็นธรรม

 

 

 































ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
ตำบลท่ายาง หมู่ที่ 1 ท่ายาง 3,046 2,167 2,565 4,732 คน
ตำบลท่ายาง หมู่ที่ 2 หนองสัก 225 274 331 605 คน
ตำบลท่ายาง หมู่ที่ 3 ท่ากระเทียม 634 689 711 1,400 คน
ตำบลท่ายาง หมู่ที่ 4 ไสค้าน 130 175 222 397 คน
ตำบลท่ายาง หมู่ที่ 5 หนองแฟบ 1,023 1,377 1,461 2,838 คน
ตำบลท่ายาง หมู่ที่ 6 บ้านเขากระจิว 515 611 642 1,253 คน
ตำบลท่ายาง หมู่ที่ 7 หนองบ้วย 1,027 1,186 1,360 2,546 คน
ตำบลท่ายาง หมู่ที่ 8 หนองแขม 765 982 1,087 2,069 คน
ตำบลท่ายาง หมู่ที่ 9 หนองแจง 316 497 535 1,032 คน
ตำบลท่ายาง หมู่ที่ 10 สหกรณ์ 251 310 371 681 คน
ตำบลท่าคอย หมู่ที่ 1 ท่าต้นโพธิ์ 393 614 620 1,234 คน
ตำบลท่าคอย หมู่ที่ 2 วังขุนด่าน 445 625 617 1,242 คน
ตำบลท่าคอย หมู่ที่ 3 ท่าคอย 735 927 1,030 1,957 คน
ตำบลท่าคอย หมู่ที่ 4 โค้งข่อย 448 606 663 1,269 คน
ตำบลท่าคอย หมู่ที่ 5 หนองขานาง 21 38 46 84 คน
ตำบลท่าคอย หมู่ที่ 6 ท่าซิก 626 685 774 1,459 คน
ตำบลท่าคอย หมู่ที่ 7 สระพระ 93 119 145 264 คน
ตำบลท่าคอย หมู่ที่ 8 ฝั่งคลอง 614 646 718 1,364 คน
ตำบลท่าคอย หมู่ที่ 9 หนองปลวก 423 650 738 1,388 คน
ข้อมูลรวม : คน






























สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ

        เทศบาลตำบลท่ายาง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ายางและตำบลท่าคอย มีพื้นที่ 79 ตารางกิโลเมตร หรือ 49,375 ไร่ ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 141 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 18 กิโลเมตร 

ด้านเหนือ         ::   ติดต่อแม่น้ำเพชรบุรี และตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด
ด้านใต้             ::   ติดต่อตำบลดอนขุนห้วย อำเภอชะอำ
ด้านตะวันออก   ::   ติดต่อตำบลบ้านในดง ตำบลมาบปลาเค้า และตำบลหนองจอก  อำเภอท่ายาง
ด้านตะวันตก     ::   ติดต่อแม่น้ำเพชรบุรีฝั่งตะวันออก เขตติดต่อกับตำบลท่าแลง และตำบลท่าไม้รวก   อำเภอท่ายาง

       ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีลักษณะพื้นที่ลาดเอียงจากทางด้านทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก เป็นพื้นที่เหมาะสมแก่การทำการเกษตร เพราะมีแม่น้ำเพชรบุรีและคลองชลประทานสาย 1,คลองชลประทานสาย 2 และคลองชลประทานสาย 3 ไหลผ่าน ประกอบกับทางด้านทิศตะวันตกมีเทือกเขาสลับซับซ้อน คือ เทือกเขาตะนาวศรี ทำให้เกิดเป็นพรมแดนกั้นทิศทางลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ไว้ได้บ้าง

       สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบัน  พื้นที่เขตเทศบาลตำบลท่ายางมีลักษณะชุมชนหลัก  คือ ชุมชนท่ายาง  และท่าคอย  อยู่บริเวณตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3175  บริเวณจุดเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดิน  หมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)  และมีชุมชนย่อยเล็กๆ กระจายตัวอยู่ในโดยรอบพื้น  ได้แก่  บ้านท่ากระเทียม  ชุมชนหนองแฟบ  บ้านเขากระจิว  บ้านหนองแขม  บ้านท่าขาม  ชุมชนเขื่อนเพชรและบ้านหนองบ้วย

       จากลักษณะทางกายภาพของพื้นที่เขตเทศบาล  และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ  ที่เชื่อต่อกับพื้นที่เมืองเพชรบุรี กับเมืองชะอำและหัวหิน  ซึ่งต้องรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเทศบาลเอง  ทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ  กระจายอยู่ทั่วไปในเขตเทศบาล  ตามแนวริมฝั่งถนนสายหลัก  ถนนสายรอง  และริมคลองชลประทานสายต่าง ๆ

 































การเมืองการปกครอง

             เทศบาลตำบลท่ายาง มีการปกครอง 2 ตำบล คือ ตำบลท่ายาง  และตำบลท่าคอย มีหมู่บ้าน
ทั้งหมด 19 หมู่บ้าน  ดังนี้
(หมายเหตุ  เป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่อยู่เขตเทศบาลเต็มพื้นที่  17  หมู่บ้าน  และมีหมู่บ้านที่มีพื้นที่บางส่วน
อยู่ในเขตเทศบาล 2  หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 5  และหมู่ที่ 7 ต.ท่าคอย) 

ตำบล 
หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
ท่ายาง
1
ท่ายาง
2
หนองสัก
3
ท่ากระเทียม
4
ไสค้าน
5
หนองแฟบ
6
กระจิว
7
หนองบ้วย
8
หนองแขม
9
หนองแจง
10
อ่างน้ำ
ท่าคอย
1
ท่าขาม
2
วังขุนด่าน
3
ท่าคอย
4
โค้งข่อย
5
หนองขานาง
6
ท่าซิก
7
สระพระ
8
ฝั่งคลอง
9
หนองปลวก
รวม
 
19 หมู่บ้าน

            

          

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

          นอกจากนี้  เทศบาลตำบลท่ายาง ยังได้จัดตั้งชุมชนย่อยขึ้น  โดยปัจจุบันมีชุมชน  ทั้งสิ้น  37  ชุมชน   ได้แก่

 

ที่

ชื่อชุมชน

หมู่ที่/ตำบล

ประธานชุมชน

1.

ชุมชนท่าพุ่งพัฒนา                         

ม.1  ต.ท่ายาง

นายมาโนชญ์  เอมดี

2.

ชุมชนศาลเจ้าแม่ท่ายาง                  

ม.1  ต.ท่ายาง

นายประกิจ  สุดเดือน

3.

ชุมชนถนนใหญ่ร่วมใจพัฒนา       

ม.1  ต.ท่ายาง

นางมยุรี  สมบูรณ์สินชัย

4.

ชุมชนโรงพยาบาล – ระหารบอน  

ม.1  ต.ท่ายาง

นางสุพิศ  พุกสุข

5.

ชุมชนบ้านหนองสัก                        

ม.2  ต.ท่ายาง

นายทวี  เวชสว่าง

6.

ชุมชนบ้านไสค้าน                           

ม.3  ต.ท่ายาง

นายประพน  สีพูน

7.

ชุมชนบ้านท่ากระเทียมพัฒนา         

ม.3  ต.ท่ายาง

นายประยุทธ  นพคุณ

8.

ชุมชนบ้านท่ามะเกลือ-ไสค้าน         

ม.4  ต.ท่ายาง

นายพต  อ่อนแสง

9.

ชุมชนบ้านหนองแฟบพัฒนา          

ม.5  ต.ท่ายาง

นายไกรสร  จงดี

10.

ชุมชนบ้านโรงนอกสามัคคี             

ม.5  ต.ท่ายาง

นายสนธยา  บุญประเสริฐ

11.

ชุมชนบ้านหนองแฟบรวมพลัง       

ม.5  ต.ท่ายาง

นายประสาน  หอมกลิ่น

12.

ชุมชนมงคลเกษม

ม.5  ต.ท่ายาง

นายวิจิตร  ไฝศิริ

13.

ชุมชนบ้านเขากระจิว                     

ม.6  ต.ท่ายาง

นายสำราญ  เจรจา

14.

ชุมชนบ้านสี่แยกสามัคคี                  

ม.7  ต.ท่ายาง

นายหัสดิ์  ศรีสวัสดิ์

15.

ชุมชนบ้านหนองไข่เต่า-ระหารบอน

ม.7  ต.ท่ายาง

นายเจน  ทองมี

16.

ชุมชนบ้านหนองบ้วย                    

ม.7  ต.ท่ายาง

นายวินัย  อุ่นใจเพื่อน

17.

ชุมชนบ้านหนองแขม                    

ม.8  ต.ท่ายาง

นายประสิทธิ์  อยู่ทอง

18.

ชุมชนตะแบกทองพัฒนา

ม.8  ต.ท่ายาง

นายสมใจ  ยิ้มรอด

19.

ชุมชนหัวทุ่ง-ทุ่งพร้าวพัฒนา

ม.8  ต.ท่ายาง

นายบรรจบ  ศรีสวัสดิ์

20.

ชุมชนบ้านหนองแจงสามัคคี                     

ม.9  ต.ท่ายาง

นายสมบูรณ์  รักเจียม

21.

ชุมชนหมู่ 10 พัฒนา                         

ม.10  ต.ท่ายาง

นายบุญส่ง  กรสวัสดิ์

22.

ชุมชนบ้านท่าต้นโพธิ์                     

ม.1  ต.ท่าคอย

นายสมปอง  เขียวชอุ่ม

23.

ชุมชนบ้านท่าขาม                            

ม.1  ต.ท่าคอย

นายมานะ  แสดงพจน์

24.

ชุมชนบ้านบึงกระจับก้าวหน้า         

ม.2  ต.ท่าคอย

นายองอาจ  เหลือล้น

25.

ชุมชนบ้านวังขุนด่าน                       

ม.2  ต.ท่าคอย

นายนิล  ยังละออ

26.

ชุมชนบ้านท่าคอย                          

ม.3  ต.ท่าคอย

นายจีรศักดิ์  มาลัย

27.

ชุมชนท่าคอยเหนือ

ม.3  ต.ท่าคอย

นายกิตติคม   พันธ์รอด

28.

ชุมชนหน้าวัดท่าคอยพัฒนา

ม.3  ต.ท่าคอย

นายพงศกร  พงษ์ผึ้ง

29.

ชุมชนบ้านโค้งข่อย                          

ม.4  ต.ท่าคอย

นายวีระ  ประสานนานุรักษ์

30.

ชุมชนบ้านท่าทุ่งแฝก                       

ม.4  ต.ท่าคอย

นายครรชิต  ไวยคำ

31.

ชุมชนบ้านท่าซิก                             

ม.6  ต.ท่าคอย

นางมาลัย  สอนศรี

32.

ชุมชนเขื่อนเพชร                            

ม.6  ต.ท่าคอย

นายเถลิงศักดิ์  ช้างเผือก

33.

ชุมชนบ้านสาย 1  พัฒนา                  

ม.8 ต.ท่ายาง ,
ม.7  ต.ท่าคอย

นายปราโมทย์  บัวหลวง

34.

ชุมชนบ้านฝั่งคลอง                          

ม.8  ต.ท่าคอย

นายศิริ  เฮ่งพก

35.

ชุมชนบ้านหนองปลวก                    

ม.9  ต.ท่าคอย

นายสำราญ  คลับคล้าย

36.

ชุมชนสาย  1                                    

ม.9  ต.ท่าคอย

นายบุญช่วย  ไมตรีจิตต์

37.

ชุมชนบ้านโค้งตาสุก                        

ม.9  ต.ท่าคอย

นายสุรมิตร  เฉลิมทอง

 

 

 































สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

        ลักษณะเศรษฐกิจโดยทั่วไป ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มะนาว กล้วย พืชผักต่างๆ โดยมีตลาดกลางทางการเกษตร 1 แห่ง คือ ตลาดกลางการเกษตรท่ายาง นอกจากรายได้จากภาคเกษตรกรรมแล้ว ประชาชนยังประกอบธุรกิจการค้า รับจ้าง มีธนาคาร 13 แห่ง ปั๊มน้ำมัน 9 แห่ง ศูนย์การค้า 1 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 1 แห่ง ประกอบการด้านการผลิตอาหารสัตว์ ส่วนด้านการท่องเที่ยว ในพื้นที่เทศบาลตำบลท่ายางนั้นไม่มีสถานที่ท่องเที่ยว แต่เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าผลิตผลทางการเกษตร ขนมพื้นเมือง สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญต่าง ๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน หาดปึกเตียน หาดชะอำ เป็นต้น ตลอดจนเป็นทางผ่านของนักท่องเที่ยวสู่ภาคใต้ด้วย สภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง 

       สำหรับสภาพสังคม ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม เช่นเดียวกับประชาชนในภาคกลางทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ประเพณีสงกรานต์ บวชนาค เข้าพรรษา ลอยกระทง เป็นต้น นอกจากนี้ ชุมชนบ้านเขากระจิว หมู่ที่ 6 ต.ท่ายาง ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทยทรงดำ ซึ่งมีประเพณีวัฒนธรรมและการแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ได้แก่ ประเพณีไทยทรงดำเป็นประเพณีการทำบุญ ในงานจะมีการจัดการละเล่น และการทำอาหารแบบดั้งเดิมของชาวไทยทรงดำ มีการแต่งกายด้วยชุดตามประเพณีที่หาดูได้ยาก จัดในช่วง เดือนเมษายนของทุกปี































สภาพทางการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

1. สถานศึกษาภาครัฐ 12 แห่ง ได้แก่ 

โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา 1 แห่ง คือ

ที่
โรงเรียน
ตำบล
ประเภท
ห้องเรียน
นักเรียน
ครู/บุคลากร
1
ท่ายางวิทยา
ท่าคอย
มัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย
24
778
42


โรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานประถมศึกษาแห่งชาติ 10 แห่ง คือ

ที่
โรงเรียน
ตำบล
ประเภท
ห้องเรียน
นักเรียน
ครู/บุคลากร
1
บ้านท่ายาง (ประชาสรรค์)
ท่ายาง
อนุบาล-ประถมศึกษา
41
1,460
83
2 บ้านหนองบ้วย ท่ายาง อนุบาล-ประถมศึกษา 8 101 13
3 บ้านหนองแขม ท่ายาง อนุบาล-มัธยมศึกษาตอนต้น 11 53 7
4 สหกรณ์บำรุงวิทย์ ท่ายาง อนุบาล-ประถมศึกษา 8 42 9
5 วัดเขากระจิว (มิตรภาพที่ 103) ท่ายาง อนุบาล-ประถมศึกษา 8 101 13
6 บ้านท่ากระเทียม ท่ายาง อนุบาล-ประถมศึกษา 8 36 7
7 วัดท่าคอย (สกุณอุปถัมภ์) ท่าคอย อนุบาล-ประถมศึกษา 8 116 13
8 วัดเขื่อนเพชร ท่าคอย อนุบาล-ประถมศึกษา 8 161 14
9 เขื่อนเพชร ท่าคอย อนุบาล-มัธยมศึกษาตอนต้น 2 75 11
10 วัดท่าขาม ท่าคอย อนุบาล-ประถมศึกษา 8 99 10

**ข้อมูล  ณ  วันที่  10  มิถุนายน  2563  จาก สพป.เขต 2 เพชรบุรี

2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท่ายาง มี 7 แห่ง คือ

 ** ข้อมูลจากกองการศึกษา  เทศบาลตำบลท่ายาง

3.ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่ายาง จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลท่ายาง

4.ห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลท่ายาง

ศาสนา

       ประชาชนส่วนใหญ่ภายในเขตเทศบาลตำบลท่ายางนับถือศาสนาพุทธ     รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ ตามลำดับ
สถานประกอบพิธีทางศาสนาในเขตเทศบาล  มีดังนี้

  • วัดในพุทธศาสนา 8 แห่ง ได้แก่ วัดท่าคอย วัดเกษมสุทธาราม วัดเขื่อนเพชร วัดชลธราราม วัดบรรพตาวาส วัดราษฎร์บำรุง วัดวิบูลย์ประชาสรรค์และวัดสหธรรมิการาม
     
  • มัสยิดในศาสนาอิสลาม 1 แห่ง คือ มัสยิดนุรัสอิสลาม
     
  • ศาลเจ้า 3 แห่ง  ได้แก่ ศาลเจ้าพ่อกวนอู ศาลเจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าพ่อเสือ 
     
  • สถานที่ปฏิบัติธรรม     1  แห่ง  ได้แก่  สำนักปฏิบัติธรรมศาลเจ้าพ่อหอมทุ่ง

 































การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

การไฟฟ้า

       ปัจจุบันการดำเนินการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลท่ายางอยู่ในความรับผิดชอบของการ ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอท่ายาง โดยประชาชนมีไฟฟ้าใช เกือบทุกหลังคาเรือน สำหรับไฟฟ้าสาธารณะตามริมถนนต่าง ๆ และที่สาธารณะอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของเทศบาล ตำบลท่ายาง ที่จะดำเนินการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะออก ไปตามความจำเป็น อีกทั้งการบำรุงรักษาโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์ เมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย 

การประปา
       การประปาในเขตเทศบาลตำบลท่ายาง อยู่ในความรับผิดชอบของกองการประปา เทศบาลตำบลท่ายาง โดยมีแหล่งผลิตน้ำประปา 4 แห่ง คือ ประปาท่ายาง ประปาท่าซิก ประปาหนองแขม และประปาไสค้าน กำลังการผลิตน้ำรวม จำนวน 3,359,040 ลูกบาศก์เมตรต่อปี จำนวนผู้ใช้น้ำ 9,410 ครัวเรือน แหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี และคลองชลประทานสาย 2  

การสื่อสารและโทรคมนาคม
        เคเบิ้ล ทีวี จำนวน 1 แห่ง คือ ท่ายางเคเบิ้ลทีวี 
       วิทยุชุมชน จำนวน 5 แห่ง คือ 90.75 MHz รากหญ้าเรดิโอ , 100.25 MHz กู๊ดเวฟ , 102.25 MHz สไปซี่เรดิโอ , 92.25 MHZ บัดดี้สเตชั่น , 90.25 MHz พลัสเรดิโอ 
       ไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) 
       ชุมสายโทรศัพท์ จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลท่ายาง 
       ระบบเสียงตามสาย จำนวน 35 แห่ง
       ระบบหอกระจายข่าว จำนวน 6 แห่ง 

การสาธารณสุข 
       -การสาธารณสุขในเขตเทศบาลตำบลท่ายาง มีหน่วยงานที่ให้บริการด้านสาธารณสุขดังนี้
       -โรงพยาบาลในเขตเทศบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลของรัฐ คือ 
       -โรงพยาบาลท่ายาง มีขีดความสามารถในการให้บริการ จำนวน 60 เตียง
       -ศูนย์สุขภาพชุมชน จำนวน 1 แห่ง
       -คลินิกเอกชน จำนวน 13 แห่ง
       -คลินิกรักษาสัตว์ จำนวน 6 แห่ง
       -บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ ในสถานพยาบาลในเขตเทศบาลตำบลท่ายาง 
       -ประกอบด้วย แพทย์ 8 คน ทันตแพทย์ 5 คน เภสัชกร 7 คน พยาบาล 80 คน
       -ประเภทการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยนอก) 5 อันดับแรก 

อำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
       -สถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ายาง จำนวน 1 แห่ง
       -สถานีดับเพลิง จำนวน 1 แห่ง
       -รถยนต์ดับเพลิง จำนวน 5 คัน
       -รถยนต์บรรทุกน้ำ จำนวน 3 คัน
       -เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม จำนวน 1 คัน
       -เครื่องดับเพลิงชนิดลากเข็น จำนวน 1 คัน
       -เรือท้องแบนสำหรับติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม จำนวน 1 ลำ
       -อัตรากำลังพนักงานดับเพลิง จำนวน 22 อัตรา
       -เทศกิจ จำนวน 7 อัตรา
       -อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 350 อัตรา 

การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
       -ปริมาณขยะมูลฝอยที่เก็บขนได้ ประมาณ 25 ตัน/วัน 
       -กำจัดขยะโดยวิธี เทกองบนพื้น แล้วไถเกลี่ยฝังกลบ
       -พื้นที่กำจัดขยะมูลฝอย มีจำนวน 16 ไร่ 
       -รถบรรทุกขยะมูลฝอย จำนวน 10 คัน แยกเป็น
       -รถเปิดข้างเทท้าย จำนวน 2 คัน
       -รถอัดท้าย จำนวน 7 คัน
       -รถคอนเทรนเนอร์ จำนวน 1 คัน
       -พนักงานดูแลความสะอาดและจัดเก็บขยะ จำนวน 57 คน

ข้อมูลด้านการสุขาภิบาล
       -ตลาดสดเทศบาล จำนวน 1 แห่ง 
       -ตลาดเอกชน จำนวน 4 แห่ง
       -ผู้ค้าในตลาดสดเทศบาล จำนวน 175 ราย
       -สถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จำนวน 411 แห่ง































ข้อมูลหน่วยงานและอำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่เทศบาล

     อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) 
พ.ศ. 2552 และพระราชบัญญัติกําหนดและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
 
      1. อํานาจหน้าที่ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 ได้กําหนดอํานาจหน้าที่ที่เทศบาลตําบลต้องทํา ได้แก่
      (1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
      (2) ให้มีและบํารุงทางบกและทาง
      (3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการ กําจัดมูลฝอยและ
สิ่งปฏิกูล
      (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
      (5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
      (6) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
      (7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
      (8) บํารุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของทั้งถิ่น
      (9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
 
      2. อํานาจหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไข เพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 ได้กําหนดอํานาจหน้าที่ที่เทศบาลตําบลอาจจัดกิจกรรมใดๆ ในเขต 
เทศบาล ได้แก่
      (1) ให้มีน้ําสะอาดหรือการประปา
      (2) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
      (3) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
      (4) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
      (5) บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร
      (6) ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
      (7) ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
      (8) ให้มีและบํารุงทางระบายน้ํา
      (9) เทศพาณิชย์
 
     3. และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจ และหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
      (1) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
      (2) การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ําและทางระบายน้ํา
      (3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
      (4) การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ
      (5) การสาธารณูปการ (6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
      (7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
      (8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
      (9) การจัดการศึกษา
      (10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส
      (11) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันของท้องถิ่น
      (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
      (13) การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
      (14) การส่งเสริมกีฬา
      (15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
      (16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
      (17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
      (18) การกําจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย
      (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
      (20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
      (21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
      (22) การจัดให้มีและควบคุมการเลี้ยงสัตว์
      (23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ
และสาธารณอื่น ๆ
      (24) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
      (25) การผังเมือง
      (26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
      (27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
      (28) การควบคุมอาคาร
      (29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
      (30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สิน
      (31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด

สำนักปลัดเทศบาล

ตั้งอยู่ชั้นที่ 1  สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง  มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน  ดังนี้

1.ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

  •  งานธุรการ
  • งานสารบรรณ
  •  งานการเจ้าหน้าที่
  • งานกิจการสภาเทศบาล
  • งานเลขานุการผู้บริหาร
  • งานการเลือกตั้ง
  • งานพัฒนาบุคลากร
  • งานสวัสดิการและทะเบียนบัตร

2.ฝ่ายปกครอง

  • งานทะเบียนราษฎร  ให้บริการประชาชนในการแจ้งเกิด  แจ้งตาย  แจ้งย้ายที่อยู่  การแก้ไขข้อมูลในทะเบียนบ้าน และการขอเลขที่บ้าน    
  • .งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  อาทิ  งานดับเพลิง  งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ด้านอุทกภัย  ,วาตภัย  ,งานเป่าท่อระบายน้ำ เป็นต้น
  • งานเทศกิจ  ได้แก่  งานจัดระเบียบในตลาดสด  หาบเร่ แผงลอย  ,งานรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง

เบอร์โทรศัพท์  0-3246-3000-2 ต่อ 127,121

 

กองคลัง   

ตั้งอยู่ชั้น 1  สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง  มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน  ดังนี้

1.ฝ่ายบริหารงานคลัง

  • งานการเงินและบัญชีของเทศบาลทุกประเภท
  • งานด้านพัสดุและทรัพย์สิน
  • งานสถิติการคลัง
  • งานระเบียบการคลัง

2. ฝ่ายพัฒนารายได้

  • จัดเก็บรายได้ทุกประเภทของเทศบาลฯ เช่น  ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  ภาษีป้าย  ภาษีบำรุงท้องที่  ใบอนุญาต  ค่าจัดเก็บขยะ  ฯลฯ
  • งานผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์
  • งานทะเบียนพาณิชย์                                                                                                                                                                                            3.ฝ่ายแผนที่ภาษีฯและทะเบียนทรัพย์สิน
  • งานแผนที่ภาษีฯ
  • งานบริการข้อมูล                                                                                                                                                                                                    4.ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
  • งานธุรการ
  • งานบำเหน็จบำนาญ

เบอร์โทรศัพท์  0-3246-3000-2 ต่อ 102,108

 

กองช่าง

ตั้งอยู่ชั้น  2  สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง  มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน  ดังนี้

1.ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง

  • ขออนุญาตก่อสร้าง  ดัดแปลง  รื้อถอน  เคลื่อนย้ายอาคารและสิ่งปลูกสร้าง
  • งานวิศวกรรมโยธา  งานออกแบบ ให้คำปรึกษาด้านงานวิศวกรรม  ตลอดจนงานผังเมือง  จัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน
  • งานควบคุมดูแลจากกรมธุรกิจพลังงาน  เช่น  การขอใบอนุญาต  การต่อใบอนุญาตสถานบริการน้ำมัน      ,ปั้มหลอดแก้วมือหมุน
  • งานธุรการ

2.ฝ่ายการโยธา

  • งานบริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ  เช่น  ปรับปรุงถนน  ขอลูกรัง  ซ่อมแซม/ติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ           ขุดลอกคูระบายน้ำ ฯลฯ
  • งานสวนสาธารณะ  จัดทำและบำรุงรักษาด้านสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ  ควบคุมดูแลรักษาบำรุงต้นไม้     พันธุ์ไม้  งานประดับตกแต่งสวนสาธารณะ  ให้คำปรึกษาและแนะนำด้านภูมิสถาปัตย์

3.ฝ่ายช่างสุขาภิบาล ได้แก่ งานควบคุมและตรวจสอบบำบัดน้ำเสีย งานซ่อมแซมและบำรุงรักษาท่อระบายน้ำ งานกำจัดขยะเกี่ยวกับการฝังกลบขยะมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ

เบอร์โทรศัพท์  0-3246-3000-2 ต่อ 201,206

กองการศึกษา

ตั้งอยู่ชั้น 3  สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง  มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน  ดังนี้

  • งานจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท่ายาง  จำนวน 7  ศูนย์  ตลอดจนการศึกษานอกระบบ
  • งานส่งเสริมการศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น  อาทิ  ประเพณีขึ้นปีใหม่  งานวันเด็กแห่งชาติ
  • งานกีฬาและนันทนาการต่างๆ  อาทิ  บริการสระว่ายน้ำ  ศูนย์ออกกำลังกายและเสริมสร้างสุขภาพ (ศูนย์ฟิตเนส)  สนามกีฬา  การสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาแก่ชุมชน  การจัดฝึกอบรม  จัดการแข่งขนกีฬาและนันทนาการต่างๆ
  • สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กและเยาวชนให้มีความพร้อมเข้าสู่สังคมประชาคมอาเซียนในโอกาสต่อไป

 

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลท่ายาง  ได้แก่

1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่ายาง

2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขากระจิว

3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย

4.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าคอย

5.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเกษมสุทธาราม

6.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเขื่อนเพชร

7.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่ากระเทียม

เบอร์โทรศัพท์  0-3246-3000-2 ต่อ 305

 

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ตั้งอยู่ชั้น 1  สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง  มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน  ดังนี้

1.งานสุขาภิบาลอนามัยและสิ่งแวดล้อม

  • การขออนุญาต – ต่ออายุใบอนุญาตกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  อาทิ  ร้านจำหน่ายอาหาร,  ร้านเสริมสวย ,ร้านสะสมอาหาร ฯลฯ
  • งานตรวจทดสอบอาหาร  ยารักษาโรค  น้ำและเครื่องสำอาง
  • งานบริการรถดูดสิ่งปฏิกูล
  • งานบริการเก็บขนขยะมูลฝอยและรับคำร้องขอถังขยะ

2. งานส่งเสริมสุขภาพ  ทั้งในด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการให้ความรู้แก่ประชาชน  อาทิ  การเยี่ยมมารดาหลังคลอด  ตลอดจนการดูแลสุขภาพของประชาชน  โดยทำงานร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน (อสม.)

3.งานป้องกันและควบคุมโรค  อาทิ  งานฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค  การขอรับทรายอะเบท

4.งานสัตวแพทย์  บริการฉีดยาป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและยาคุมกำเนิดสำหรับสุนัขและแมว  งานทำหมันสุนัขและแมว

เบอร์โทรศัพท์  0-3246-3000-2 ต่อ 141

 

 

 

กองสวัสดิการและสังคม

ตั้งอยู่ชั้น 2  สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง  มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน  ดังนี้

1.ฝ่ายพัฒนาชุมชน

  • งานจัดตั้งชุมชน  แต่งตั้งคณะกรรมการชุมชน  งานจัดตั้งกลุ่มสตรี
  • งานสนับสนุนการพัฒนาชุมชนในทุกๆ ด้าน อาทิ  การพัฒนาด้านกีฬา , วัฒนธรรมประเพณีชุมชน          การพัฒนาสภาพแวดล้อมชุมชนให้เป็นชุมชนน่าอยู่
  • งานเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์  ตลอดจนงานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ด้อยโอกาสและผู้ยากไร้
  • งานส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านอาชีพ  อาทิ โครงการฝึกอบรมอาชีพ และงานส่งเสริมด้านการเกษตร

เบอร์โทรศัพท์  0-3246-3000-2 ต่อ 215

 

กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ

ตั้งอยู่ชั้น  2  สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง  มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน  ดังนี้

1.ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ

  • งานประชาสัมพันธ์  บริการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทางช่องทางต่างๆ  เช่น  เสียงตามสาย    เว็บไซต์เทศบาล   เฟสบุ๊คเทศบาลตำบลท่ายาง  ตลอดจนการปิดประกาศต่างๆ
  • งานจัดทำงบประมาณ  จัดทำเทศบัญญัติงบประมาณประจำปีและเพิ่มเติม
  • งานวิเคราะห์นโยบายและแผน  รวบรวมปัญหาและความต้องการของทุกชุมชน  จัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเพื่อนำไปสู่การจัดทำโครงการพัฒนาท้องถิ่น 
  • งานบริการศูนย์ข้อมูลข่าวสารของเทศบาลตำบลท่ายาง
  • งานบริการติดตั้ง  ปรับปรุงเสียงตามสายชุมชน

2. งานนิติการ    ดูแลงานตรวจสอบนิติกรรมสัญญาต่างๆ ของเทศบาล

  • งานศูนย์ดำรงธรรมเทศบาลตำบลท่ายาง  ทำหน้าที่เป็นศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์  ให้บริการข้อมูลข่าวสาร  ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย  รับเรื่องปัญหาความต้องการและข้อเสนอแนะของประชาชน 

เบอร์โทรศัพท์  0-3246-3000-2 ต่อ 218

 

 

กองการประปา

ตั้งอยู่ชั้น  1  สำนักงานเทศบาลตำบลท่ายาง  มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน  ดังนี้

  • บริการผลิตและจำหน่ายน้ำประปาสะอาดให้แก่ประชาชน
  • รับเรื่องเรียนและแก้ไขปัญหาท่อประปาแตก   น้ำไม่ไหล  น้ำไหลอ่อน  น้ำขุ่น เป็นต้น
  • แจ้งขอติดตั้งมิเตอร์ประปา  ขอขยายเขตจำหน่ายน้ำประปาใหม่
  • รับชำระค่าน้ำประปา
  • งานขอรับบริการสนับสนุนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

 

เบอร์โทรศัพท์  0-3246-3000-2 ต่อ 135

สถานธนานุบาล

ตั้งอยู่ ซอยเทศบาล 7  หมู่ที่ 1  ต.ท่ายาง  มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงาน  ดังนี้

  • เป็นสถานที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ขัดสนเงินในยามฉุกเฉิน 
  • บริการรับจำนำสิ่งของมีค่า ในการบรรเทาความเดือดร้อนและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำ  ระยะเวลานานถึง  4  เดือน  และสามารถผ่อนผันให้อีก 30 วัน 
  • เงินต้นไม่เกิน 5,000  บาท  คิดอัตราดอกเบี้ย  ร้อยละ   0.50  ต่อเดือน
  • เงินต้นเกินกว่า 5,000 บาท  คิดอัตราดอกเบี้ย  ร้อยละ  1.00  ต่อเดือน

 

เบอร์โทรศัพท์  0-3243-7918















































• ตรวจสอบภายใน

     • แผนการตรวจสอบภายใน

     • รายงานการตรวจสอบภายใน

     • งานควบคุมภายใน

     • การบริหารความเสี่ยง

• วัฒนธรรมองค์กร

     • มาตรฐานการให้บริการ

     • มาตรฐานการปฏิบัติงาน

• การให้บริการ

     • คู่มือปฏิบัติงาน

     • มาตรฐานการให้บริการ

     • สถิติการให้บริการ

     • ผลสำรวจความพึงพอใจในการให้บริการ